นักวิจัยจุฬาฯ ฉายแสง 6 เวทีนานาชาติ
มิถุนายน 15, 2022 2024-01-03 10:23นักวิจัยจุฬาฯ ฉายแสง 6 เวทีนานาชาติ
เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 15 มิถุนายน 2565 นักวิจัยจุฬาฯ เข้ารับประกาศนียบัตรในพิธีแสดงความความยินแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีฯ พร้อมปาฐกถาพิเศษ “นโยบายและทิศทางในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์ ผลงานวิจัย และนวัตกรรมสู่เวทีนานาชาติ” และรองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ กองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) เป็นตัวแทนรองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ที่ทำผลงานวิจัยและสร้างชื่อแสดงในระดับนานาชาติผ่านเวทีการประกวดในต่างประเทศ ได้แก่…
- เวที The XV International Warsaw Invention Show (IWIS 2021)
25 – 27 ตุลาคม 2564 ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
จำนวน 1 ผลงาน ดังนี้ - ผลงานเรื่อง “ไฟท์ฝุ่น สเปรย์ลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5” โดย ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ร้อยตำรวจเอกหญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง และคณะ จากคณะเภสัชศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- เวที Seoul International Invention Fair 2021 (SIIF 2021)
จัดแสดงผลงานระหว่างวันที่ 1-4 ธันวาคม 2564 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
จำนวน 4 ผลงาน ดังนี้ - ผลงานเรื่อง “แชทบอทโค้ทเพื่อเตรียมทักษะอนาคต ให้ผู้เรียนดิทัลในอนาคต ในยุคอนาคตปรกติถัดไป” โดย ศาสตราจารย์ ดร. จินตวีร์ คล้ายสังข์ จากคณะครุศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- ผลงานเรื่อง “อควา-พีช พลัส สารควบคุมการเคลื่อนไหวในสัตว์น้ำพร้อมใช้” โดย รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.นพดล พิฬารัตน์ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ (รางวัลเหรียญเงิน)
- ผลงานเรื่อง “Mr. IP Powered by InnoP: โมบายเลิร์นนิงแอปพลิเคชันชาญฉลาด พร้อมติวเตอร์อัจฉริยะตลอด 24 ชั่วโมง บนพื้นฐานกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่สำหรับยุคเน็กซ์นอมัล” โดย ดร.นฤบดี วรรธนาคม และคณะ จากคณะครุศาสตร์ (รางวัลเหรียญทองแดง)
- ผลงานเรื่อง “การทำวัคซีนปลาด้วยนวัตกรรมแบบไร้เข็ม” โดย รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ (รางวัล Grand Prize)
* นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลจากเวทีอื่นร่วมด้วย คือ- The 32nd International Invention, Innovation and Technology Exhibition” (ITEX 2021) ได้รับรางวัลเหรียญทอง
- The 9th Macao International Innovation and Invention Expo (MiiEX) 2021
ได้รับรางวัลเหรียญทอง
- Kaohsiung International Invention & Design EXPO (KIDE 2021)
ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
- เวที SPECIAL EDITION 2022 – INVENTION GENEVA EVALUATION DAYS
ระหว่างวันที่ 16 – 20 มีนาคม 2565 ณ สมาพันธรัฐสวิส
จำนวน 3 ผลงาน ดังนี้
- ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกส์ชิปสำหรับตรวจไมโครฟิลาเรียในเลือด” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิงศริยา อัศวกาญจน์ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- ผลงานเรื่อง “Tri iExC-BEST (Tri-interactive exercise with brain energy & stimulation training)” โดย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงโสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ และ นางสาวณัชณิชา เพ็ญศรีสิริกุล จากคณะแพทยศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- ผลงานเรื่อง “สเปรย์สมุนไพรนาโนสูตรเย็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย” โดย นางสาววราภรณ์ โชติสวัสดิ์ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ (รางวัลเหรียญเงิน)







Related Posts
การขอเป็นเจ้าของผลงานตาม TRIUP ACT
พ.ย. 22, 2023
212 views
จุฬาฯ ร่วมนิทรรศการวิชาการ รร.จปร. 2566
พ.ย. 22, 2023
214 views
จุฬาฯ จับมือ University of Sheffield เดินหน้าศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พ.ย. 09, 2023
197 views