ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Social Innovation Hub)
มกราคม 23, 2024 2024-04-22 12:11ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Social Innovation Hub)
ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นการดำเนินการโครงการนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคมที่ท้าทาย (Social Innovation) เชื่อมโยงกับการพัฒนาความเป็นมหาวิทยาลัยโลก (Global University) โดยเฉพาะจุดแข็งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจน มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ (Comprehensive University) จึงทำให้มีศาสตร์หลายสาขาที่มีศักยภาพระดับนานาชาติและสร้างโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือวิจัยบูรณาการตอบโจทย์ยากของโลก เช่น สังคมสูงวัย (Aging Research Innovation) ชุมชนยั่งยืนกับการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Sustainable Community and Creative Tourism) การออกแบบนวัตสถาปัตยกรรมสังคม (Design for Society) และ การสร้างแรงบันดาลใจเชิงมนุษยศาสตร์ (Art and Humanities for Sustainability) ที่นำสู่การพัฒนาโลกให้ยั่งยืน ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมนโยบายและทางเลือกทางสังคมที่ผ่านการปฏิบัติ การวิเคราะห์ผลเชิงปฏิบัติ และสร้างผลดีต่อชุมชนสังคม ตลอดจนได้รับการยอมรับในชุมชนวิชาการโลก (Global Recognition)
ในปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ลงทุนให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือวิจัยบูรณาการตอบโจทย์ยากของโลกในหลากหลายประเด็น โดยมีผลงานเชิงประจักษ์ทั้งด้านนโยบายระดับประเทศ การเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ การปฏิบัติการต่อเนื่อง และมีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ตลอดจนชุมชนปฏิบัติการในพื้นที่ ซึ่งสามารถพัฒนาด้านวิชาการจากการวิจัยและปฏิบัติการให้เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับโลกด้านนวัตกรรมสังคม

เป้าหมาย
เป้าประสงค์ของโครงการนวัตกรรมสังคม คือ การเป็นพื้นที่ยกระดับ (Leverage) งานวิจัยวิชาการที่ดำเนินการอยู่และเสริมเพิ่ม เพื่อนำไปสู่ผลิตผลวิชาการวิจัยระดับนานาชาติ เพื่อ ตอบโจทย์สังคมที่ยากและมีความซับซ้อน ไปสู่เป้าหมายยกสถานะคุณภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งสังคมไทยและสังคมโลก ด้วยการสนับสนุนกิจกรรมการวิจัย การศึกษา และการ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงในฐานะพลเมืองโลก มีการสร้างความเข้มแข็งของผู้นำบุคคล (Individuals) กลุ่มบุคคลที่มุ่งมั่น (Active Groups) และ เครือข่าย ศักยภาพสูง (Potential Networks) เพื่อการเปลี่ยนแปลง ผ่านช่องทางการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์เชิงปฏิบัติการ (Active Learning through Action ) เพื่อถอดบทเรียนและนำมาตอบ โจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อมที่สลับซับซ้อน ตลอดจนสร้างทางเลือกเชิงนโยบายที่เป็นนวัตกรรมสังคม ทั้งนี้ ในการดำเนินงานจะมีความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก (Global Outstanding Partnership) ที่มีพันธกิจในการมุ่งสร้างผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาคและระดับโลก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคม Social Innovation Hub ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการทางด้านกายภาพเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมที่จะเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ (Practice Platform) ของ โครงการนวัตกรรมทางสังคม ทั้งนี้ ได้กำหนดประเด็นการดำเนินการเพื่อตอบโจทย์สังคมสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนและนำไปสู่การสร้างทางเลือกเชิงนวัตกรรม สังคม ได้แก่ การบูรณาการนวัตกรรมนโยบายสังคมสูงวัย การออกแบบนวัตกรรมสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน และ การพัฒนา ศิลปกรรมดิจิตอลเพื่อสังคมที่มีการดำเนินการและมีความสำเร็จมาในระดับหนึ่งแล้วและมุ่งหมายที่จะใช้ Social Innovation Hub หรือศูนย์ปฏิบัติการนวัตกรรมสังคมนี้ เป็นชุมชนวิชา การ เพื่อยกระดับการปรับเปลี่ยน (Transformation) โดยการขับเคลื่อนบูรณาการสหศาสตร์ (Transdisciplinary) ในบริบททางวิชาการระดับโลก โครงการนวัตกรรมสังคม จะเป็น พื้นที่ชุมชนปฏิบัติการวิชาการและวิจัยระดับโลก (Global Interactive and Initiative Social Innovation Community ) ในประเด็นเป้าหมายที่จะเสริมและต่อยอดการวิจัยนวัตกรรม สังคมที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการอยู่ เพื่อให้เกิดผลความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนโลกอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญและการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา และพัฒนานวัตกรรมทางสังคม
2. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ในการสร้างนวัตกรรมที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์และสังคม
3. เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการและดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมทางสังคมของมหาวิทยาลัยในเชิงพาณิชย์ และพัฒนาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
4. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัย สู่การใช้ประโยชน์และมีผลกระทบสูง
5. เพื่อเพิ่มสัดส่วนของผลงานวิจัยที่ได้รับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า และการใช้ประโยชน์เพื่อสังคม
ติดต่อ

สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย